วิธีการเลือกกลิ่น สำหรับทำเทียนหอม
กลิ่นของ เทียนหอม ถือเป็นหัวใจสำคัญของคนที่ชอบเทียนหอม เพราะสิ่งที่บ่งบอกได้ชัดเจนมากกว่าเนื้อเทียนหอมเทียนหอม ว่าอันไหนแต่งต่างกัน นั่นก็คือ กลิ่น ที่เราผสมเข้าไปในเนื้อเทียนหอม
วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับกลิ่น ประเภทของกลิ่น รวมถึงการเลือกกลิ่นสำหรับทำเทียนหอม
ประเภทของกลิ่นที่ใช้สำหรับทำเทียนหอม
โดยหลักๆแล้ว เราจะแบ่งออกเป็น 2 กลิ่น นั่นคือ
- กลิ่นที่ผสม บ่มกลิ่นเอง
- กลิ่นสำเร็จรูป
ต้องขอธิบายเพิ่มเติมว่าทำไม เราถึงแบ่งออกเป็น 2 แบบ ในแบบ ที่ไม่เหมือนใคร เพราะโดยปกติเขาจะแบ่งกกันตาม Note ของกลิ่น หรือประเภทของกลิ่น ว่ากลิ่นทำจากอะไร เป็นกลิ่นตระกูลไม้ พืน ผลไม้ หรือกลิ่นดิน
- กลิ่นที่ผสมเอง
กลิ่นที่ผสมเอง จะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน บางคนชอบกลิ่นพืช บางคนชอบกลิ่นผลไม้
แต่หัวใจสำคัญในการนำกลิ่นไปทำเทียนหอมจากกลิ่นที่เราบ่มเอง คือการเลือก Note ของกลิ่น ซึ่ง Note ของกลิ่น จะบ่งบอกถึงระดับความลึก ควมติดทนนานของกลิ่น
การแบ่ง Note กลิ่น แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
- Top Note เป็นกลิ่นที่อยู่บนสุดของยอดปิรามิต เป็นกลิ่นที่เราจะได้กลิ่นแรก เมื่อตอนเราจุดเทียนหอม แต่กลิ่นที่อยู่ในระดับนี้ กลิ่นจะบาง ไม่ติดทนนาน ไม่เหมาะนำมาทำเป็นกลิ่นเดียวโดดๆ ในการทำเทียนหอม เนื่องจากว่า การทำเทียนหอม เราจะใช้เวลาในการจุด การที่เรา ใช้เพียงแค่ Top Note ในการทำเทียนหอม จะทำให้กลิ่นเราจาง ถ้าเราจุดนานๆ และกลิ่นจะไม่ติดห้อง จุดเทียนหอมไม่นาน ก็จะทำให้กลิ่นไขถั่วเหลือ หรือกลิ่นเทียน กลบกลิ่นของน้ำหอม หรือน้ำมันหอมละเหยของเราจนหมด
ตัวอย่างของกลิ่นโทนนี้ คือกลิ่นตระกูลเปรี้ยว กลิ่นส้ม เลม่อน จะเห็นว่า ถ้าเราใช้กลิ่นนี้ดลิ่นเดียว จุดเพียงไม่นานกลิ่นจะจาง แล้วกลิ่นเทียนกบลกลิ่นน้ำหอมจนหมด
ไม่แนะนำให้ใช้กลิ่นตะกูลนี้โดดๆ กลิ่นเดียว
- Middle Note กลิ่นหลักสำหรับทำเทียนหอม เป็นกลิ่นที่ให้ความหอมติดทนนาน สามารถนำมาทำเป็นเทียนหอมได้ เพราะกลิ่นจะติดทนนานกว่ากลิ่นที่อยู่ในตระกูล Top Note
กลิ่นที่อยู่ในกลุ่มนี้จะเป็นกลิ่น กลุ่ม Fruity Woody เหมาะกับการนำมาหสมกับ Top Note เพื่อให้กลิ่นที่เข้มข้นขึ้น และอยู่ติดห้องหลังจุดได้นานขึ้น
- Base Note เป็นกลิ่นกลิ่นที่อยู่ชั้นที่ลึกที่สุด ให้ความหอมนานที่สุด เป็นกลิ่นที่ จะอยู่ติดห้องเวลาเราจุดเทียนหอม แล้วดับเทียนหอม กลิ่นของNote ตระกูลนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นกลิ่นที่ให้ความหอมหวาน จะสังเกตุได้เวลาเราทำเทียนหอมที่มีกลิ่นจำพวก Vanila กลิ่นจะติดทนานมาก
สำหรับใครที่ผสมกลิ่นเอง แนะนำว่าเวลาผสม ให้ผสมทุกระดับ ของกลิ่น เพื่อที่กลิ่นจะได้หอมตั้งแต่เริ่ม จนถึงดับเทียน กลิ่นก็ยังคงหอมติดห้อง
- กลิ่นเร็จรูป
กลิ่นแบบนี้ จะเป็นกลิ่นที่ เราไปซื้อจากร้านมาอยู่แล้ว เราไม่ได้เป็นคนผสมกลิ่นเอง ส่วนใหญ่การผสมกลิ่นจะเป็นความรับ เพราะสัดส่วนของกลิ่นมีผลต่อการให้ความหอม
ส่วนใหญ่จะเป็นกลิ่นที่มี Note เดียว หรือกลิ่นเพียงกลิ่นเดียว ข้อดีคือกลิ่นจะมีความชัดเจน แทบจะไม่ต้องตีความหมาย เช่น กลิ่นชาเขียว คือกลิ่นที่ใช้ชาเขียวเป็นหลัก กลิ่น vanila กลิ่นจะเป็นกลิ่นของ วนิลาเป็นหลัก
แต่ถ้าเป็นกลิ่นผสม จะเป็นจำพวก กลิ่นที่ต้องตีความหมาย เช่น กลิ่นทะเล เนื่องจากไม่มีกลิ่นทะเลที่สามารถทำได้โดยตรง จะเป็นการผสมตามสูตร ของแต่ละคนเพื่อให้ได้กลิ่นที่ใกล้เคียงกับกลิ่นของทะเลมากที่สุด
ดังนั้นกลิ่นที่ผสมจึงเป็นกลิ่นที่ต้องตีความหมายเอง เพื่อความใกล้เคียงกับกลิ่นที่เราอยากได้
สรุป
สำหรับใครที่กำลังทำเทียนหอม หหรืออยากหากลิ่นเพื่อทำกลิ่นของตัวเอง ลองใช้ 2 เหณฑ์นี้ได้นะ เพราะ ไม่มีกลิ่นไหนที่ถูกหรือผิด มีแต่กลิ่นที่เราชอบหรือไม่ชอบ บางกลิ่น ให้กลิ่นหลักกลิ่นเดียวได้เลย
บางกลิ่นอาจจะต้องผสม เพื่อสร้างเอกลักษณ์และตีความเพิ่มเติม
อ่านบทความดีๆเกี่ยวกับ ประโยชน์ของเทียนหอม